top of page

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

               กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัย ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนดทั้งนี้ หลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2564 มีดังนี้

  • หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต (7 ชั่วโมง/1วัน) 

  • หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมงาน (12 ชั่วโมง/2วันต่อเนื่อง) 

  • หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ (18 ชั่วโมง/3วันต่อเนื่อง) 

  • หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (12 ชั่วโมง/2วันต่อเนื่อง)

  • หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (24 ชั่วโมง/4วันต่อเนื่อง)

  • หลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (3 ชั่วโมง)

รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตรการฝึกอบรม ผู้อนุญาต

ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง โดยจัดฝึกอบรม 1 วัน ดังนี้

การอบรมภาคทฤษฎี (5 ชั่วโมง)
(ก) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ข) ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ค) การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงานและการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ง) วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย (30 นาที)
(จ) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต (30 นาที)
(ฉ) ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย (30 นาที)
(ช) บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ

และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (30 นาที)

การฝึกภาคปฏิบัติ (2 ชั่วโมง)
(ก) เทคนิคการตรวจสภาพพื้นที่และงาน ก่อนตัดสินใจอนุญาต (1 ชั่วโมง)
(ข) เทคนิคในการควบคุมการทำงานในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)

หลักสูตรการฝึกอบรม ผู้ควบคุมงาน

ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงโดยจัดฝึกอบรม 2 วันต่อเนื่อง  ดังนี้

การอบรมภาคทฤษฎี (9 ชั่วโมง)
(ก) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ข) ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ค) การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ง) ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงาน ในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย (30 นาที)
(จ) บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ

และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (30 นาที)
(ฉ) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ช) เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ซ) การสั่งให้หยุดทำงานชั่วคราว (30 นาที)
(ฌ) การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน ในที่อับอากาศ (30 นาที)
(ญ) เทคนิคในการจัดทำแผนปฏิบัติงานและการป้องกันอันตราย (1 ชั่วโมง)
(ฎ) การควบคุมดูแล การใช้เครื่องป้องกัน อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต (1 ชั่วโมง)
การฝึกภาคปฏิบัติ (3 ชั่วโมง)
(ก) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ (30 นาที)
(ข) เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ (30 นาที)
(ค) เทคนิคในการควบคุมการทำงานในที่อับอากาศ (30 นาที)
(ง) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ (30 นาที)
(จ) การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ (30 นาที)
(ฉ) สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน (30 นาที)

หลักสูตรการฝึกอบรม ผู้ช่วยเหลือ

ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง โดยจัดฝึกอบรมอบรม 3 วันต่อเนื่อง  ดังนี้

การอบรมภาคทฤษฎี (12 ชั่วโมง)
(ก) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ข) ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ค) การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ง) วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย (1 ชั่วโมง)
(จ) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ฉ) ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย (30 นาที)
(ช) บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ

และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (30 นาที)
(ซ) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ฌ) เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ญ) อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกภัย (1 ชั่วโมง)
(ฎ) การช่วยเหลือและช่วยชีวิต (1 ชั่วโมง)
(ฏ) การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) (2 ชั่วโมง)
การฝึกภาคปฏิบัติ (6 ชั่วโมง)
(ก) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ข) เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ค) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ (30 นาที)
(ง) การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ (30 นาที)
(จ) การช่วยเหลือและช่วยชีวิต (1 ชั่วโมง)
(ฉ) การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) (1 ชั่วโมง)
(ช) สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน (1 ชั่วโมง)

หลักสูตรการฝึกอบรม ผู้ปฏิบัติงาน

ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรม ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง โดยจัดฝึกอบรม 2 วันต่อเนื่อง ดังนี้

การอบรมภาคทฤษฎี (9 ชั่วโมง)
(ก) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ข) ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ค) การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงานและการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ง) วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย (1 ชั่วโมง)
(จ) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ฉ) ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงาน ในที่อับอากาศ (30 นาที)
(ช) บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ

และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (30 นาที)
(ซ) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ฌ) เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ญ) อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกภัย (1 ชั่วโมง)

การฝึกภาคปฏิบัติ (3 ชั่วโมง)
(ก) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ (45 นาที)
(ข) เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ (45 นาที)
(ค) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ (30 นาที)
(ง) สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน (1 ชั่วโมง)  

หลักสูตรการฝึกอบรม ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง โดยจัดฝึกอบรม 4 วันต่อเนื่อง  ดังนี้

การอบรมภาคทฤษฎี (15 ชั่วโมง)

(ก) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)

(ข) ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ค) การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ (
1 ชั่วโมง)
(ง) วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย (
1 ชั่วโมง)
(จ) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ (
1 ชั่วโมง)
(ฉ) ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงาน ในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย (30 นาที)
(ช) บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ

และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (30 นาที)
(ซ) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ฌ) เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
(ญ) การสั่งให้หยุดทางานชั่วคราว (
30 นาที)
(ฎ) การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน ในที่อับอากาศ สามสิบนาที
(ฏ) อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกภัย (1 ชั่วโมง)
(ฐ) การช่วยเหลือและช่วยชีวิต (
1 ชั่วโมง)
(ฑ) การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) (2
 ชั่วโมง)
(ฒ) เทคนิคในการจัดทำแผนปฏิบัติงานและการป้องกันอันตราย (
1 ชั่วโมง)
(ณ) การควบคุมดูแลการใช้เครื่องป้องกันและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (
1 ชั่วโมง)

การฝึกภาคปฏิบัติ (9 ชั่วโมง)

(ก) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ข) เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
(ค) เทคนิคการตรวจสภาพพื้นที่และงาน ก่อนตัดสินใจอนุญาต (1 ชั่วโมง)
(ง) เทคนิคในการควบคุมการทำงานในที่อับอากาศ (30 นาที)
(จ) การอนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการสื่อสาร (1 ชั่วโมง)
(ฉ) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่า (45 นาที)
(ช) การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ (45 นาที)
(ซ) การช่วยเหลือและช่วยชีวิต (1 ชั่วโมง)
(ฌ) การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) (1 ชั่วโมง)
(ญ) สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน (1 ชั่วโมง)

หลักสูตรการฝึกอบรม ทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมเฉพาะภาคทฤษฎีไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อเนื่อง อย่างน้อยในหัวข้อวิชาดังนี้

การอบรมภาคทฤษฎี (3 ชั่วโมง)
(๑) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
(๒) ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ
(๓) การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ
(๔) วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย
(๕) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ และอุปกรณ์ ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ
(๖) ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงาน ในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย
(๗) บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

  • มีใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นซึ่งแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศอาจเป็นอันตราย

ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม

  • ผู้เข้ารับการอบรมต้องเป็นผู้ที่ผ่านการอบรมดับเพลิงขั้นต้น

จำนวนผู้เข้าอบรม

ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ไม่เกิน 30 คนต่อรุ่น

  • ภาคทฤษฎี วิทยากร 1 คน ต่อ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 30  คน

  • ภาคปฏิบัติ วิทยากร 1 คน ต่อ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 15  คน

วิทยากรฝึกอบรม

วิทยากรที่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย

image.png
ติดต่อเรา สอบถามเรา

มีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ โดยกรอกรายละเอียดด้านล่าง

บริษัท ซัคเซส เซฟตี้ เทรนนิ่ง แอนด์ คอนซัลแทนท์ จำกัด (สำนักงานใหญ่) 

SUCCESS  SAFETY  TRAINING AND CONSULTANTS CO.,LTD. 

 

บริการฝึกอบรม

และที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยในการทำงาน

899/39 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านบึง ชลบุรี 20170
มือถือ : 081-255-8292  โทร/โทรสาร : 0-3307-0340 

เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร : 0205562010958

Email : success_safety@hotmail.com

Success! Message received.

  • w-facebook
  • Twitter Clean
bottom of page